กษิดิ, กษีดิ หมายถึง [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว.(ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร),อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวงทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์,เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่นอันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตรจะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวงฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
[กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
น. สายน้ำนม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
น. น้ำนม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือน้ำนมสดขาวสะอาด.(ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
น. น้ำนม เช่น ดูดดื่มกษีรามพุ. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษีร + อมฺพุ).;
[กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว).
ดู กษีร-, กษีระ.